ประจำเดือนไม่มา” เพราะลดน้ำหนักหรือเปล่า? ถ้าสาวๆ ที่ลดความอ้วนแล้วเจอปัญหานี้ มาเช็กข้อเท็จจริงกันเลยว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง?

ลดน้ำหนักได้ประมาณหนึ่งจนเริ่มจะพอใจกับรูปร่างตัวเองแล้ว แต่ประจำเดือนกลับไม่มา หรือมาก็ไม่ปกติ สาวๆ หลายคนจึงเริ่มกังวลใจว่าเป็นเพราะอะไร? ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยไม่มีปัญหา หรือว่าการลดน้ำหนักทำให้ประจำเดือนไม่มาหรือเปล่า? เอาเป็นว่า มาไขข้อข้องใจให้ชัดๆ ไปเลยดีกว่า

ลดน้ำหนักแล้ว “ประจำเดือนไม่มา” เกิดจากอะไร? เราทำพลาดตรงไหนกันแน่

ถ้ากำลังสงสัยว่าการลดน้ำหนักของเราทำให้ประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่มา ก็ต้องตอบว่ามีส่วนเหมือนกันนะคะ โดยคนที่ลดความอ้วนอาจเจอภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ ด้วยสาเหตุเหล่านี้

1.กินน้อยเกินไป

โดยเฉพาะคนที่ลดน้ำหนักด้วยการไม่กินไขมันเลย ซึ่งจริงๆ แล้วไขมันจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกเลยล่ะ ดังนั้นหากคุณลดน้ำหนักด้วยการลดไขมัน กินให้น้อยลง หรืออดอาหาร ก็มีส่วนทำให้ฮอร์โมนร่างกายเหวี่ยงได้ ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือไม่มาเลย

2.ผอมเกินไป

บางคนอาจลดน้ำหนักโดยกินอาหารครบ 5 หมู่ตามปกติ ร่วมกับการออกกำลังกาย แต่ดันลดน้ำหนักจนผอมเกินไป หรือมีค่า BMI ที่น้อยกว่า 18.5 (วิธีคำนวณค่า BMI) หรือมีไขมันในร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าปกติ ก็ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลได้เหมือนกัน สาวๆ กลุ่มนี้เลยอาจมีภาวะประจำเดือนไม่มาได้

3.ลดน้ำหนักเร็วเกินไป

การลดน้ำหนักได้เร็วก็ไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป เพราะการที่น้ำหนักลดฮวบก็ทำให้สาวๆ เจอกับปัญหาประจำเดือนไม่มาได้เช่นกัน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่ลดอย่างฉับไวอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการตกไข่ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับรอบเดือนของเรา

4.ออกกำลังกายหนักเกินไป

วิธีลดน้ำหนักอย่างเห็นผลควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย แต่ถ้าหากเราหักโหมจนเกินไปก็อาจส่งผลต่อรอบเดือนได้ เพราะการออกกำลังกายที่หนักอาจทำให้ไขมันในร่างกายถูกเผาผลาญเร็วเกินไป ฮอร์โมนในร่างกายก็เลยขาดความสมดุล

5.กินแป้งน้อยเกินไป

หลายคนเลือกใช้สูตรลดน้ำหนักด้วยการลดแป้งอย่างสูตรคีโต ซึ่งอาจส่งผลให้รอบเดือนผิดปกติ และอาจกระตุ้นให้มีภาวะไร้ประจำเดือน (Amenorrhea) เนื่องจากการกินแป้งน้อยเกินไปจะส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมน GnRH ซึ่งเกี่ยวข้องกับประจำเดือน และกระทบกับการผลิตฮอร์โมนต่างๆ ที่กระตุ้นให้ไข่สุก ไข่ตก รวมทั้งเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน เทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนเลปติน ที่คอยรักษาสมดุลของวงรอบประจำเดือนให้เป็นปกตินั่นเอง

โดยการศึกษาในวัยรุ่นหญิง 20 คน ก็พบว่า คนที่ลดน้ำหนักด้วยสูตรคีโตหรืองดแป้งนาน 6 เดือน มีปัญหาเรื่องประจำเดือนไม่มาถึง 45% และใน 6 คนก็พบภาวะไร้ประจำเดือน คือประจำเดือนขาดไปเลย 3 เดือน หรือขาดไปนานกว่านั้นด้วย

6.เครียดกับการลดน้ำหนัก

ความเครียดมีผลมากๆ กับฮอร์โมนในร่างกาย ดังนั้นหากเครียดกับการลดน้ำหนักมากเกินไปก็อาจเจอปัญหาประจำเดือนไม่มาได้เช่นกัน

ลดน้ำหนักแล้ว “ประจำเดือนไม่มา” แก้ไขอย่างไรดี

จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักๆ ของการลดน้ำหนักแล้วประจำเดือนไม่มา ส่วนใหญ่เป็นปัญหาของฮอร์โมน ดังนั้นเราก็สามารถปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ลดน้ำหนักอย่างสุขภาพดี ไม่ลดเร็วเกินไป โดยลดน้ำหนักสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม โดยเฉลี่ย และพยายามรักษาระดับให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

  • พยายามลดน้ำหนักแบบไม่อดอาหาร และควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ คนที่ลดแป้งก็เลือกกินคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ส่วนคนที่ลดไขมันก็เลือกกินไขมันชนิดดีในปริมาณที่เหมาะสม

  • ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ สักวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง กำลังดี

  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมจนเกินไปหรืออ้วนจนเกินไป

  • พยายามไม่เครียด และอย่ากดดันกับการลดน้ำหนักของตัวเองจนกระทบต่อสุขภาพโดยรวม

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับเป็นการปรับสมดุลร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับคนที่กังวลกับการที่ประจำเดือนไม่มา ทางเราแนะนำให้ทานยาสตรีควบคู่กับการลดน้ำหนักไปด้วย เพราะว่ายาสตรีจะช่วยปรับสมดุลในเรื่องของฮอร์โมนให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แต่สาวๆ หลายคนคงเคยเชื่อว่าการทานยาสตรีจะทำให้อ้วนหรือน้ำหนักขึ้นหรือเปล่า? ซึ่งไม่เป็นความจริงเลยค่ะ เพราะมันขึ้นอยู่กับลักษณะการทานอาหาร การใช้ชีวิต และการออกกำลังกายของเรา ยาสตรีไม่ได้มีผลทำให้อ้วนหรือน้ำหนักขึ้นแน่นอน

หรือลองไปปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงก็ได้ เพราะนอกจากการลดน้ำหนักแล้ว ก็มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้เช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
โรงพยาบาลเปาโล
กรุงเทพธุรกิจ
nhs.uk
healthline.com
https://health.kapook.com/view247596.html

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม :

เป็น “ประจำเดือน” กินทุเรียนได้ไหม?

“ปวดท้องประจําเดือน” แบบไหน? ถึงต้องไปตรวจภายในได้แล้ว

“จุดซ่อนเร้น” ของผู้หญิงแต่ละวัย เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?