ทุเรียนจะส่งผลกระทบต่อการเป็น “ประจำเดือน” หรือไม่? ตอบข้อสงสัยที่สาวๆ อยากรู้ เป็นประจำเดือนกินทุเรียนได้หรือเปล่านะ

ประจำเดือนของผู้หญิงนอกจากจะมีความไม่แน่ไม่นอนแล้ว ยังมีประเด็นแปลกๆ อีกหลายอย่างที่สาวๆ อยากรู้ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินในช่วงวันนั้นของเดือน ที่ของบางอย่างก็กินได้ตามปกติ แต่ก็มีอาหารบางรายการที่ควรเลี่ยงไว้เพราะอาจทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น หรือส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย แล้วสำหรับทุเรียนจะกินตอนเป็นประจำเดือนได้ไหม ลองมาหาคำตอบกันค่ะ

เป็น “ประจำเดือน” กินทุเรียนได้ไหม? ใช่ของแสลงหรือเปล่า?

      จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ว่า กินทุเรียนตอนมีประจำเดือนจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้หญิงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างทันที ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนร่างกายแกว่ง ทำให้อารมณ์แปรปรวนง่ายขึ้น ที่สำคัญยังอาจกระตุ้นอาการ PMS (กลุ่มอาการก่อนและระหว่างเป็นประจำเดือน) เช่น หงุดหงิด ตัวบวม เป็นสิว น้ำหนักขึ้น เป็นต้น


      นอกจากนี้ทุเรียนยังเป็นผลไม้ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนค่อนข้างสูง ดังนั้นการกินทุเรียนตอนเป็นประจำเดือนที่ร่างกายเรามีฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับสูงอยู่แล้ว อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล นำมาซึ่งอาการ PMS (กลุ่มอาการก่อนและระหว่างเป็นประจำเดือน) ที่สาวๆ คงไม่อยากเจอ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อห้ามที่แน่ชัดว่า เป็นประจำเดือนห้ามกินทุเรียนเด็ดขาด แต่ถึงอย่างนั้นทุเรียนก็เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน น้ำตาลสูง แคลอรีก็ไม่น้อย ดังนั้น ไม่ว่าจะตอนไหนก็ควรกินทุเรียนอย่างพอดี คือไม่เกิน 2 เม็ดต่อวัน เพราะหากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด เสี่ยงเป็นร้อนใน ที่สำคัญคือน้ำหนักขึ้นได้ง่ายๆ และหากอยากเช็กว่าเป็นประจำเดือน ควร หรือ ไม่ควร กินอะไรอีกบ้าง ก็ลองมาดู ดังนี้เลยนะคะ

มีประจำเดือน “ห้ามดื่มน้ำมะพร้าว” จริงหรือไม่?


อาหารต้องห้าม-อาหารต้องกิน เมื่อมี “ประจำเดือน”


10 อาหาร ต้าน “ปวดประจำเดือน”

เคล็ดลับ

ถ้าสาวๆ กำลังเผชิญกับอาการประจำเดือนมาไม่ปกติอยู่นั้น เราขอแนะนำให้ทาน ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง ยาสตรีฟลอร่าสำหรับผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด และแถมยังช่วยให้ผิวพรรณผ่องใสอีกด้วย ดีแบบนี้ ไม่หาซื้อมาทานไม่ได้ได้แล้วนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
webmd, webmd, momjunction
https://health.kapook.com/view224933.html

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม :

“ปวดท้องประจําเดือน” แบบไหน? ถึงต้องไปตรวจภายในได้แล้ว

“จุดซ่อนเร้น” ของผู้หญิงแต่ละวัย เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?

“ประจำเดือนหลังคลอด” เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ