“ปวดท้องประจำเดือน” ปวดแบบไหน? ถึงต้องไปตรวจภายในได้แล้ว
อาการปวดท้องประจำเดือนเป็นสิ่งที่อยู่กับผู้หญิงหลายคน โดยเฉพาะบางคนมีอาการปวดท้องมากๆ ในวันแรกที่ประจำเดือนมา ทำเอาจิตตกไปไม่น้อย เพราะไม่รู้ว่าต้องมีอาการปวดขนาดไหนถึงจะบอกได้ว่าอยู่ในขั้นรุนแรงจนควรจะไปตรวจภายในดูสักครั้ง ลองมาดูข้อมูลกันดังนี้ค่ะ
สำหรับอาการ “ปวดท้องประจำเดือน” มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป็นโรคกับไม่เป็นโรค ดังนี้
1.อาการปวดท้องประจำเดือน แบบไม่เป็นโรค
จะปวดท้องใน 1-2 วันแรกของรอบเดือนเท่านั้น ปวดแบบทนได้โดยไม่ต้องกินยาแก้ปวด สาเหตุเกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก เพื่อไม่ให้รอบเดือนมามากจนทำให้เกิดภาวะตกเลือด
อาการปวดท้องประจำเดือน แบบไม่เป็นโรค สามารถช่วยได้อีกวิธีคือ การรับประทานยาสตรี ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ควรทานช่วงก่อนจะมีประจำเดือนและระหว่างมีประจำเดือน จะทำให้ร่างกายปรับสมดุลระบบภายในของผู้หญิง ซึ่งจะทำให้โอกาสปวดท้องประจำเดือนลดน้อยลง
“ปวดท้องประจำเดือน” แต่ไม่อยากกินยาแก้ปวด เรามีเคล็ดลับมาบอก
2.อาการปวดท้องประจำเดือน แบบเป็นโรค
จะปวดท้องมากจนต้องกินยาแก้ปวด สังเกตได้จากการเพิ่มปริมาณยา เช่น จากเคยกินพาราเซตามอล 2 เม็ด ก็เพิ่มเป็น 4 เม็ด หรือเปลี่ยนเป็นยา Ponstan อาการปวดจาก 2-3 วัน กลายเป็นตลอดช่วงรอบเดือน หรือคนที่มีอาการหนักจะพบว่าปวดท้องตลอดเวลาโดยไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน
คนไข้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เกิดจากสภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ นอกจากนี้ ถ้าพบในอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน รังไข่ ปีกมดลูก จนกลายเป็นพังผืดในท้องก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิด Chocolate Cyst เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต และมีพังผืดในมดลูก
การรักษาเริ่มต้นจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และอัลตราซาวด์ ถ้ายังเป็นไม่มาก ไม่มีซีสต์ ไม่มีเนื้องอก พังผืดยังเป็นไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการใช้ยา Hormone เช่น ยาคุมกำเนิด มีตั้งแต่ใช้กิน ฉีด ฝัง ใส่ห่วง เป็นต้น แต่ถ้าตรวจพบเนื้องอกซีสต์ หรือพังผืดที่เป็นเยอะจนทำให้อวัยวะข้างเคียงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มีบุตรยาก ลำไส้อุดตัน หรือท่อไตอุดตันจากพังผืด กลุ่มนี้ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องต่อไปค่ะ
“ปวดท้องประจำเดือน” ปวดแบบไหน? ต้องไปหาหมอ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ “ปวดท้องประจำเดือน”
กินยาแก้ปวดทุกครั้งที่ “ปวดท้องประจำเดือน” อันตรายหรือไม่?
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://health.kapook.com/view73504.html
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม :
“จุดซ่อนเร้น” ของผู้หญิงแต่ละวัย เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?