สาวๆ เป็นกันไหมคะ? ลำพังแค่ปวดท้องประจำเดือน ก็ทรมานอยู่แล้ว แต่หลายคนยังมีอาการปวดหัวหน่าว หรือปวดอวัยวะเพศด้วย เกิดจากอะไรกันนะ?

สำหรับคุณผู้หญิงที่มีอาการปวดหัวหน่าว ขาหนีบ หรือตึงๆ ที่อวัยวะเพศเวลามีประจำเดือน คงจะสงสัยกันอยู่บ้างว่าอาการนี้เกิดจากอะไร แล้วจะเป็นสัญญาณของความผิดปกติในร่างกายหรือเปล่า เอาเป็นว่ามาเช็กให้เคลียร์ พร้อมเก็บวิธีลดปวดไปใช้บรรเทาอาการตัวเองด้วยเลย

ปวดหัวหน่าว ปวดช่องคลอด ตอนมี “ประจำเดือน” เกิดจากอะไร?

สาเหตุที่ทำให้เวลาเป็นประจำเดือนแล้วปวดช่องคลอด ปวดหัวหน่าว เกิดได้จากปัจจัยเหล่านี้

1.มดลูกบีบตัว

เป็นสาเหตุหลักของอาการปวดหัวหน่าวในช่วงมีประจำเดือน เนื่องจากร่างกายของคุณสาวๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) กระตุ้นให้มดลูกบีบเกร็งตัวจึงมีอาการปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย และอาจร้าวไปปวดหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือทวารหนักได้ด้วย โดยอาการนี้ไม่มีอันตราย และมักจะเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือน 2-3 ชั่วโมง ตลอดจนช่วง 2-3 วันแรกของการมีประจำเดือน จากนั้นก็จะหายเป็นปกติ

2.เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ในกรณีที่ปวดอวัยวะเพศมากในช่วงเป็นประจำเดือน แต่ไม่มีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดประจำเดือนอื่นๆ อาจบ่งชี้ถึงภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณอวัยวะเพศได้ โดยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง หรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป

3.ภาวะปวดปากช่องคลอดเรื้อรัง

ผลการสำรวจของทางต่างประเทศพบว่า มีสาวๆ ประมาณ 16% เจอกับอาการปวดเรื้อรังบริเวณปากช่องคลอด (Vulvodynia) โดยมีอาการแสบ ระคายเคือง ปวดอวัยวะเพศเมื่อถูกสัมผัส ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรืออาจลามไปปวดที่ก้นหรือต้นขา โดยมักมีอาการนานกว่า 3 เดือน ซึ่งสาเหตุของภาวะนี้ก็อาจเกิดจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด จึงทำให้รู้สึกปวดหัวหน่าว ปวดอวัยวะเพศในช่วงมีประจำเดือนได้ รวมไปถึงคนที่นั่งติดที่นานๆ หรือคนที่มีอาการแพ้ได้ง่ายก็อาจเสี่ยงกับภาวะนี้มากกว่าคนทั่วไปด้วย

4.ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด

การติดเชื้อในช่องคลอดไม่ว่าจะเชื้อแบคทีเรีย เชื้อยีสต์ หรือเชื้อโรคที่ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ก็อาจทำให้มีอาการปวดหัวหน่าว หรือปวดอวัยวะเพศได้ ซึ่งเมื่อบวกกับการเป็นประจำเดือนหรือช่วงตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้นไปด้วย

แต่ทั้งนี้หากมีการติดเชื้อในช่องคลอด ก็จะพบอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือมีไข้ ที่แม้จะไม่ได้เป็นประจำเดือนก็จะยังมีอาการอยู่ตลอด ซึ่งก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน

5.เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก

แม้เนื้องอกส่วนนี้มักไม่ใช่เนื้อร้าย แต่ในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนหรือช่วงตั้งครรภ์ก็ตาม ก้อนเนื้องอกก็อาจมีขนาดใหญ่ขึ้น และไปกดทับมดลูก หรือเบียดช่องคลอดจนรู้สึกปวดหน่วงๆ ตึงๆ ได้ ดังนั้นใครมีอาการประจำเดือนมามากตลอด ปวดช่องคลอด ปัสสาวะบ่อย ก็อยากให้นึกถึงภาวะนี้ไว้หน่อย

ปวดหัวหน่าว ปวดช่องคลอด ตอนมี “ประจำเดือน” บรรเทาอย่างไร?

วิธีบรรเทาอาการปวดหัวหน่าวหรือปวดช่องคลอดช่วงมีประจำเดือน สามารถทำได้ ดังนี้

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดตึงจนเกินไป

  • ประคบร้อนบริเวณที่ปวด เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ

  • จิบน้ำอุ่นหรือน้ำขิงอุ่นๆ เพื่อปรับภายในร่างกายให้อุ่นขึ้น และกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต

  • งดออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะการออกกำลังกายช่วงล่าง เช่น ปั่นจักรยาน เป็นต้น

  • งดมีเพศสัมพันธ์ขณะเป็นประจำเดือน รวมไปถึงหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกดทับท้องน้อย หรือร่างกายช่วงล่าง

  • รับประทานยาสตรีในช่วงก่อนมีประจำเดือน สามารถรักษาสมดุลระบบภายในของผู้หญิง ซึ่งจะส่งผลให้ตอนมีประจำเดือนสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือน รวมถึงปวดน้องสาวได้ด้วย ยาสตรีที่ทางเราแนะนำ คือ ยาสตรีฟลอร่า หนึ่งเดียวในดวงใจค่ะ

  • หากมีอาการปวดมาก สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาแก้ปวดในกลุ่มไอบูโพรเฟนเพื่อบรรเทาอาการปวดได้

อย่างไรก็ดี หากมีอาการปวดมากจนทำให้ต้องขาดเรียน ขาดงาน หรือไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หรือพบอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็น มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมามาก มาหลายวัน หรือปวดท้องน้อยมากผิดปกติ ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการโดยเร็วนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
bbc.com, healthline.com, bustle.com

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม :

บำบัดอาการทรมาน เมื่อมี “ประจำเดือน”

ลดน้ำหนักแล้ว “ประจำเดือนไม่มา” เกิดจากอะไรกันนะ?

เป็น “ประจำเดือน” กินทุเรียนได้ไหม?