อาการ “ปวดหัวก่อนมีประจำเดือน” เกิดจากอะไร?
เรื่องราวนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจจากหลายๆ คน เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิง นั่นคือ การเป็นประจำเดือนนั่นเอง
ก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน ทำไมชอบมีอาการปวดหัว เป็นเพราะอะไร แล้วมีวิธีรักษาหรือไม่? มาฟังคำตอบของคำถามที่น่าสนใจนี้จากกันเลย
เรื่องอาการปวดหัวก่อนมีประจำเดือนนั้น มีผู้หญิงเป็นกันเยอะมาก สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนภายในร่างกายของเรา และมีได้หลากหลายอาการ บางคนจะปวดหัว บางคนจะหน้าแดง หรือบางคนอาจจะเป็นสิว มีการคัดเต้านม ปวดหลัง ปวดเอว อารมณ์หงุดหงิดง่าย หรืออะไรเหล่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่จะแตกต่างกันที่ความไวในการตอบสนองของแต่ละคนที่มีไม่เท่ากัน บางคนมีประจำเดือนก็เป็นปกติไม่มีอาการใดๆ แทรกซ้อน แต่บางคนอาจจะนอนซมไปไหนไม่ได้เลยก็มี
อาการ “ปวดหัวก่อนมีประจำเดือน” นั้น เกิดจากเส้นเลือดนอกสมองของเราซึ่งถูกควบคุมด้วยระบบฮอร์โมนมีการขยายตัวเกิดขึ้น จะทำให้เราปวดศรีษะได้ หรืออาการของ โรคไมเกรน นั่นเอง
บางคนเข้าใจว่าไมเกรนต้องปวดหัวข้างเดียวไม่ใช่หรือ? จริงๆ ไม่ใช่ ไมเกรนสามารถมีอาการปวดทั้ง 2 ข้าง หรืออาจจะปวดซ้ายขวาไม่เท่ากันก็ได้ ที่มันสัมพันธ์กันเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้น จะทำให้เกิดการขับเลือดที่ผนังมดลูกแล้วก็มีเลือดออกมาเป็นสัญญาณว่าฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงแล้ว
อาการ “ปวดหัวก่อนมีประจำเดือน” นั้น ถือเป็นเรื่องปกติหรือไม่?
เมื่อมีอาการปวด ก็ควรพักผ่อน ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพื่อลดอาการได้ แต่หากมีอาการปวดหนักมากๆ ก็สามารถติดต่อสูติ-นารีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุว่ามีอาการอื่นร่วมด้วยไหมในช่วงที่เป็นประจำเดือน เช่น โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง หรืออะไรเหล่านี้ ซึ่งในกลุ่มนี้อาจจะต้องใช้ยาเพิ่มเติมตามอาการที่เป็น
นอกจากนี้ การรับประทานยาสตรี ก็มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้เช่นกัน เนื่องจากการรับประทานยาสตรีทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี บำรุงเลือด ปรับสมดุลฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติอีกด้วย
หากสาวๆ คนไหนที่มักจะมีอาการปวดหัวอยู่เป็นประจำแล้วล่ะก็ ลองหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกทานอาหารที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ดูแลสภาพจิตใจไม่ให้เผชิญกับความเครียดจนเกินไป หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะทำให้อาการปวดไมเกรนลดลง คุณภาพชีวิตค่อยๆ ดีขึ้นได้อย่างแน่นอนค่ะ
“ปวดไมเกรนช่วงมีประจำเดือน” เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี?
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม :
ผู้หญิงวัย 20-60 ปี กับ “สารอาหารที่ควรได้รับ”