ดูแล “มดลูก” ให้แข็งแรง ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ระมัดระวังและดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง ซึ่งวันนี้เรามีวิธีดีๆ มาแนะนำคุณสาวๆ กันแล้วค่ะ

สมัยนี้สุขภาพร่างกายของคนเรานั้นสำคัญ มดลูก ถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญของผู้หญิง ดังนั้น เราอย่ามองข้ามการดูแลมดลูกให้แข็งแรง งั้นเรามารู้เคล็ดลับการดูแลมดลูกให้แข็งแรงกันดีกว่า

ดูแล “มดลูก” ให้แข็งแรง เรื่องง่ายๆ ที่ผู้หญิงควรทำ

ขมิบเพื่อบริหารอุ้มเชิงกรานอย่างสม่ำเสมอ

การขมิบคือ การเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (เหมือนการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ) วิธีการคือ ให้เกร็งค้างไว้ นับ 1 – 5 แล้วผ่อนคลาย อาจทำต่อเนื่องกันหรือแบ่งเป็นครั้งละ 20 – 30 ชุดก็ได้ จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง และมดลูกไม่ต่ำ

ดูแลสุขภาพร่างกาย ให้แข็งแรง

มดลูกคืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย หากร่างกายแข็งแรง โลหิตจะไหลเวียนไปเลี้ยงได้เต็มที่ ทำให้มดลูกแข็งแรง การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เช่น การดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมหรืออ้วนจนเกินไป การนอนหลับให้เพียงพอ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว และงดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่

ดูแลสุขภาพใจ ให้แข็งแรง

ความเครียดทำให้มดลูกไม่ปกติ เพราะระบบฮอร์โมนผิดปกติ ประจำเดือนจึงมาไม่ปกติ การลดความเครียดมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น รู้จักปลงตก มองโลกในแง่บวก หัวเราะทุกวัน พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ให้อภัยผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายในชีวิต

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ทำให้ภูมิต้านทานดี กล้ามเนื้อหัวใจและปอดแข็งแรง สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี ช่วยป้องกันมดลูกอักเสบและมดลูกต่ำ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ จ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิก โยคะ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน และประมาณครึ่งชั่วโมง

ระวังการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดอาการตกขาว ปวดท้องน้อย มีไข้ มดลูกอักเสบ แม้รักษาหายก็ยังมีอาการปวดมดลูก ปวดประจำเดือน มีตกขาวเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไม่ตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้มดลูกดี ดังนั้นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคนที่ไม่รู้จักไม่รู้ใจหรือไม่แน่ใจ

ไม่ยกของหนัก

การยกของหนักทำให้มดลูกต่ำ กระเพาะปัสสาวะกระทบกระเทือน หากจำเป็นต้องยกของหนักควรปัสสาวะก่อน

ตรวจร่างกายและตรวจภายในเป็นประจำ

แม้ว่าเราจะแข็งแรง ก็ควรตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก โรคภัยไข้เจ็บมีผลต่อมดลูกไม่มากก็น้อย เช่น โรคเบาหวาน อาจทำให้มดลูกอักเสบ ติดเชื้อ เป็นเชื้อรา และโรคเรื้อรังอื่นๆ อย่างความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคตับ โรคไต อาจทำให้มีการตกเลือด ประจำเดือนมามากหรือกะปริบกะปรอย รวมไปถึงการตรวจภายใน โดยตรวจวินิจฉัยและรักษาการอักเสบ ติดเชื้อในช่องคลอด ปากมดลูก จนทำให้มดลูกไม่ดีได้ ทั้งยังสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติของมดลูกได้แต่เนิ่นๆ เช่น เนื้องอกธรรมดาของโพรงมดลูก เนื้องอกธรรมดาของมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก่อนลงเอยด้วยการตัดมดลูก

เคล็ดลับเพิ่มเติม

บำรุงมดลูกให้แข็งแรงได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานยาสตรี การรับประทานยาสตรีสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการบำรุงให้มดลูกแข็งแรงได้ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ขับน้ำคาวปลาคุณแม่หลังคลอดได้ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม :

ประจำเดือนเป็นลิ่ม อันตรายไหม? มาเช็กก่อนอย่าเพิ่งกลุ้มไป

ประจำเดือนไม่มา เป็นเพราะสาเหตุอะไรบ้างนะ?

7 วิธีง่ายๆ คืนความสาวให้ จุดซ่อนเร้น